เคี้ยวข้างเดียวนานๆ เป็นไรหรือไม่
การที่เรามีฟันครบอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ก็สามารถทำให้เราเคี้ยวอาหารได้ดีละเอียดขึ้น จะทานอะไรมันก็อร่อย ระบบบดเคี้ยวที่ดีต้องมีความสมดุล ซึ่งจะสัมพันธ์กันแค่ ฟัน ขากรรไกร และกล้ามเนื้อที่ขยับขับเคลื่อนขากรรไกร ถ้าอย่างหนึ่งอย่างใดผิดปกติ ระบบบดเคี้ยวก็เสียหายด้วย การเคี้ยวข้างเดียวก็เป็นประเด็นหนึ่งที่โยงไปถึงการด้อยประสิทธิภาพในการบด เคี้ยวและมีผลข้างเคียงหลายๆอย่าง
ทำไมถึงเคี้ยวข้างเดียว
1. มีปัญหาที่ตัวฟันข้างนั้น เคี้ยวแล้วเศษอาหารติด,เคี้ยวแล้วเจ็บ จึงย้ายไปเคี้ยวอีกข้าง,ฟันผุที่ไม่ได้อุด,ฟันที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ,โยก คลอน,ฟันร้าว,ฟันแตก,ฟันเหลือแค่ราก ลักษณะอย่างนี้ที่ทำให้ฟันทำหน้าที่ไม่เต็มที่ คนใช้จึงโยกการเคี้ยวไปอีกข้าง
2. บริเวณข้างนั้นไม่มีฟัน หลังจากที่ถอนฟันไปแล้ว ทันตแพทย์มักแนะนำให้คนไข้ใส่ฟันเพื่อรักษาระบบการบดเคี้ยวให้เป็นไปเหมือนเดิม มีหลายท่านที่ถอนฟันแล้วไม่ใส่ก็ย้ายไปเคี้ยวฝั่งตรงข้ามที่มีฟันเต็มๆ
3. มีฟันครบแต่ประสิทธิภาพในการตัดอาหารของทั้งสองข้างไม่เท่ากัน เรามักจะไปเคี้ยวยังด้านที่บดอาหารได้ดีกว่า อาจเป็นเพราะยอดฟันสึกจากที่เคยอุดฟันหรือใส่ฟัน Procela..มานานๆ วัสดุอุดฟันอาจจะสึกแตก ความคมของยอดฟันสูญเสียไป ก็เคี้ยวไม่ถนัดเมื่อเทียบอีกข้าง
4. โดยนิสัยของแต่ละคนที่ถนัดเคี้ยวข้างเดียว
การเคี้ยวข้างเดียวมีผลอย่างไร?
1. เกิดความไม่สมดุลย์ต่อการบดเคี้ยว โดยปกติแล้วหัวต่อขากรรไกรจะมีทั้งซ้าย,ขวา ทำหน้าที่คล้ายบานพับ อ้าปากหุบปาก หากมีการเคี้ยวข้างเดียวนานๆ มีผลทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณหัวต่อขากรรไกรได้
2. การเคี้ยวข้างเดียว มีผลทำให้ฟันข้างนั้นทำงานหนักมากขึ้น โอกาสจะเสียหาย,ฟันสึก,แตกมีมากขึ้น
3. กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวด้านนั้นจะทำงานหนักมากขึ้น รูปขากรรไกรอาจดูไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อด้านนั้นจะแข็งแรงและโตกว่าอีกข้าง
หากท่านเคี้ยวข้างเดียว จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ควรพบทันตแพทย์สาเหตุนั้นออก เพื่อให้ระบบบดเคี้ยวอยู่ในสภาพที่สมดุลย์ ลดการเสี่ยงต่อผลกระทบหรือสิ่งเสียหายที่มีต่อหัวต่อขากรรไกรและอวัยวะข้างเคียงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น